วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ทันตแพทย์-Dentist-general

นิยามอาชีพ
 ผู้ปฏิบัติงานทันตแพทย์-Dentist-general ได้แก่ผู้ให้การรักษาโรคและความผิดปกติของฟันและช่องปากด้วยการศัลยกรรม ให้ยา และวิธีการอื่นๆ ควบคุมโรคในช่องปากของผู้ป่วย และควบคุมบริการทันตสุขภาพ รวมถึงการตรวจฟันและปากของผู้ป่วย และใส่ฟันปลอม ร่วมในการวางแผน จัดระบบงาน และดำเนินงานให้เป็นไปตาม โครงการทันตสุขภาพของหน่วยงานสาธารณสุข
ลักษณะของงานที่ทำ
 ให้การรักษาโรค และความผิดปกติของฟันและช่องปากด้วยการศัลยกรรม ให้ยา และวิธีการอื่นๆ ตรวจปากและฟันของผู้ป่วย ใช้เครื่องเอ็กซเรย์และทดสอบตามความจำเป็น เพื่อจะได้ทราบถึงลักษณะของความผิดปกติ พิจารณาผลของการตรวจและการทดสอบ และตกลงใจเลือกวิธีการรักษา หารูฟันผุ ทำความสะอาดและอุดรูฟันผุ และถอนฟันที่เป็นโรคหรือไม่ได้ใช้ให้เกิดประโยชน์ พิมพ์ปากและจำลองแบบของเหงือก และส่วนอื่นๆ ของปาก เพื่อใช้ในการประดิษฐ์ฟันปลอม และใส่ฟันปลอม ใส่เครื่องยึดเพื่อจัดฟันที่มีลักษณะผิดปกติ หรือเกให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง รักษาโรคฟัน ปากหรือเหงือกด้วยการใช้ยาหรือศัลยกรรม ให้ยาชาหรือวางยาสลบตามความจำเป็น อาจทำเฉพาะทางในการรักษาอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมากกว่า
สภาพการจ้างงาน
 ทันตแพทย์สามารถทำงานในภาครัฐ และภาคเอกชนโดยประกอบอาชีพตามสถานบริการทันตกรรม โรงพยาบาลของรัฐ และเอกชน หรือประกอบธุรกิจส่วนตัว 
ทันตแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจะได้รับเงินเดือนเทียบเท่าวุฒิปริญญาตรีทั่วไป อัตราค่าจ้างเป็นรายเดือนแตกต่างกันไปตามความรู้ และความชำนาญ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ ไม่มีประสบการณ์จะมีรายได้โดยประมาณ ดังนี้ 
  ประเภทองค์กร      เงินเดือน 
       ราชการ              6,360 
       เอกชน       12,000 - 15,000 

ทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง อาจจะต้องทำงานวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุด อาจจะต้องมี การจัดเวรอยู่ประจำโรงพยาบาล นอกจากผลตอบแทนในรูปเงินเดือนแล้ว ผู้ทำงานกับภาครัฐจะได้รับ สวัสดิการตามระเบียบของทางราชการ ส่วนผู้ที่ทำงานในภาครัฐวิสาหกิจและเอกชนอาจได้รับผลประโยชน์อย่างอื่นมากกว่าภาคราชการ เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินสะสม เงินช่วยเหลือ สวัสดิการในรูปต่างๆ เงินประกันสังคม เงินโบนัส เป็นต้น สำหรับผู้ที่สำเร็จทันตแพทย์ที่มีเงินทุนสามารถประกอบธุรกิจส่วนตัวด้วยการเปิดคลีนิครักษาฟัน มีรายได้ขึ้นอยู่กับความสามารถ และความอุตสาหะ
สภาพการทำงาน
 ทันตแพทย์ทั่วไปจะทำงานในห้องตรวจฟันซึ่งมีอุปกรณ์ในการตรวจ และรักษาฟัน เช่น เครื่องมือต่างๆ เพื่อการขูดหินปูน ถอนฟัน ฉีดยาชา และเก้าอี้สำหรับผู้ป่วย และทันตแพทย์ โดยจะต้องมี ไฟส่องสว่างเพื่อช่วยในการตรวจฟันในปาก โดยทั่วไปทันตแพทย์จะมีผู้ช่วยทันตแพทย์ในการตรวจรักษาผู้ป่วยโดยจะช่วยในการหยิบส่งอุปกรณ์ในการตรวจรักษาฟัน ในบางครั้งอาจจะมีผู้ป่วยที่เป็นเด็ก ซึ่งการตรวจรักษาอาจจะยุ่งยากกว่าผู้ใหญ่เนื่องจากเด็กจะมีความกลัวและไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจฟัน ทันตแพทย์ต้องมีจิตวิทยาในการหลอกล่อเด็กให้ความร่วมมือโดยการอ้าปาก เพื่อทำการตรวจรักษา รวมทั้งต้องระวังการถูกกัดนิ้วมือขณะทำการตรวจรักษาให้เด็กที่กำลังกลัวและโกรธ
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
 1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางทันตแพทย์ 
2. มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี 
3. มีความรู้ในการค้นและการประดิษฐ์ 
4. มีสุขภาพแข็งแรง บุคลิกดี รู้หลักจิตวิทยา คล่องแคล่ว พูดจาเก่ง 
5. มีฐานะทางการเงินดีพอสมควร 
6. มีความซื่อสัตย์ในวิชาชีพของตน มีคุณธรรมและจริยธรรมทางการแพทย์ ไม่ใช้ความรู้ทางวิชาการของตนไปหลอกลวงหรือทำลายผู้อื่น 
ผู้สนใจประกอบอาชีพทันตแพทย์ต้องเตรียมตัวเข้าสู่อาชีพ : เมื่อสำเร็จหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรอื่นที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่า และสามารถสอบผ่านวิชาต่างๆ ในการ คัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ตลอดจนการสอบสัมภาษณ์และการตรวจร่างกาย หลักสูตรวิชาทันตแพทย์ระดับปริญญาตรีตามปกติใช้เวลาเรียน 5 ปี โดยมีสถาบันที่เปิดสอนวิชาการแพทย์ระดับปริญญาหลายแห่งในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย เช่นมหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น เมื่อครบหลักสูตรแล้วจะได้รับใบอนุญาตประกอบเวชกรรมของแพทยสภา มีสิทธิประกอบอาชีพแพทย์ได้ ตามกฎหมาย
โอกาสในการมีงานทำ
 ผู้ที่สำเร็จการศึกษาทางทันตแพทย์หากมีความขยันอุตสาหะจะไม่มีการตกงาน เนื่องจาก นอกเหนือจากการเข้าทำงานในโรงพยาบาลของรัฐบาลหรือเอกชนแล้ว ยังสามารถประกอบอาชีพส่วนตัวด้วยการเปิดคลีนิครักษาโรคฟันได้ ซึ่งการรักษาฟันรวมถึงการทำศัลยกรรมฟัน เช่น ทำเขี้ยว และอื่นๆ กำลังเป็นที่นิยมของประชาชนทั่วไปกันมากขึ้น
โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
 ผู้สำเร็จการศึกษาจะต้องใช้ทุนให้กับรัฐบาลในสายงานที่เรียนมา โดยประจำอยู่ในโรงพยาบาล ของรัฐ หรือสถานพยาบาล ศูนย์อนามัยของกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุขเป็นเวลา 2 ปี เมื่อใช้ทุนแล้วจะทำงานประจำต่อในหน่วยงานของรัฐ หรืออาจจะไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก หรือเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัย หรือประกอบอาชีพอิสระโดยตั้งคลีนิครักษาเป็นส่วนตัวและทำงานในโรงพยาบาลเอกชนก็ได้ 
ถ้ารับราชการต่อไปก็จะได้รับการเลื่อนขั้น และเลื่อนตำแหน่งตามระเบียบของทางราชการ เช่น เป็นหัวหน้าภาควิชา เป็นต้น
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
 ผู้ชำนาญพิเศษทางทันตกรรม ทันตแพทย์ฝ่ายป้องกัน และสาธารณสุข ช่างเทคนิคการแพทย์ อาจารย์ทางวิชาทันตแพทย์ศาสตร์
แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
 ทันตแพทย์สมาคม ทันตแพทยสภา http://www.thaidental.org http:// www.thaitist.org การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย)


แสดงอาชีพอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับในหมวดนี้

  • จักษุแพทย์ Ophthalmologist
  • จิตแพทย์ Psychiatrist
  • ทันตแพทย์ Dentist general
  • นักเคมี Chemist
  • นักจิตวิทยา Psychologist
  • นักชีววิทยา Biologist
  • นักเทคนิคการแพทย์ นักเทคโนโลยีการแพทย์ Medical Technologist
  • นักฟิสิกส์ Physicists
  • นักโลหะกรรม Metallurgists
  • นักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ System Analyst
  • นักวิเคราะห์การตลาด Marketer, Marketing Analyst
  • นักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม Environmental Analyst
  • นักวิจัย (สัตววิทยา) Researcher (Zoologist)
  • นักเศรษฐศาสตร์ Economists
  • นักสถิติ Statistician
  • ผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ นักวางผังเพื่อการประมวลผล Computer Programmer
  • ผู้บริหารระบบข่าวสาร Management Information System (MIS) Manager
  • ผู้วางแผนการผลิต Production Planner
  • พนักงานเครื่องประมวลผลอัตโนมัติ(คอมพิวเตอร์) Automatic Data Processing Machine Operators (Computer Operators) เสมียนคำนวณข้อมูล หรือ เสมียนคำนวณข้อมูลทางคอมพิวเตอร์
  • นักรังสีเทคนิค เจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์ รังสีแพทย์ X-ray Technicians, X-ray Operator ,medical
  • แพทย์ทั่วไป Physician, general practice
  • เภสัชกร Pharmacist
  • วิศวกรไฟฟ้าทั่วไป Electrical Engineer, General
  • วิสัญญีแพทย์ Anesthetist
  • ศัลยแพทย์ Surgeon
  • สัตวแพทย์ทั่วไป Veterinarian, general
  • บทบาทของทันตแพทย์เฉพาะทางในโรงพยาบาล

                    บทบาททางทันตกรรมใน Total health care นั้นมีมากขึ้นทำให้มีการร่วมมือระหว่างวิชาชีพด้านงานชุมชนและในโรงพยาบาลที่มีทันตแพทย์และผู้ป่วยเฉพาะทางมีมากขึ้น
               

                    การแพทย์มีพัฒนาจาก General practice ไปสู่การแพทย์เฉพาะทางมากขึ้นและโรงพยาบาลก็เปลี่ยนจากการให้บริการด้าน acute primary care เป็นหลักไปสู่การดูแล total health care ทุกรูปแบบ ได้แก่ ศัลยกรรม อายุรกรรม สูตินรีเวช การพยาบาล พยาธิวิทยา กุมารเวชกรรมและล่าสุดได้แก่ dental medicine ซึ่งรวมกับทันตแพทย์เฉพาะทางเพื่อรักษาและเป็นที่รับ refer ผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพของช่องปากและฟันมาเพื่อขอคำปรึกษา ประเมิน วินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยที่มักจะได้รับการส่งต่อมายังแผนก ได้แก่ 
                   1.ผู้ป่วย trauma 
                   2.Emergency dental and oral pathologic problems 3.Medically compromised patient

    Oral surgeon 
                    ทำหน้าที่ประเมินการรักษาทางทันตกรรมใน medically compromised patient และช่วยประสานการ consult ระหว่างแผนกเขาเป็นผู้ที่ได้ประเมินรอยโรคที่น่าสงสัยในช่องปากในระยะเริ่มแรก ทำให้คนไข้ได้รับการรักษาเร็วและรักษาชีวิตเอาไว้ได้นอกจากนี้ยังทำ เพื่อรักษาด้านทันตกรรมในผู้ป่วย oral surgeon ยังช่วย head and neck surgeon ในการผ่าตัดและเป็น reconstructive surgeon ที่เตรียมช่องปากเพื่อใส่ prosthesis หรือเป็นผู้บูรณะ mandible ที่ถูกตัดโดยใช้ bone graft Oral surgeon จะร่วมมือกับ orthodontist ในการแก้ไข occlusal and jaw deformities ดังนั้น โรงพยาบาลจึงจำเป็นต้องมี oral surgeon อยู่ใน health team ด้วย 

    Periodontist 
                    ช่วยประเมินหาจุดกำเนิด infection จาก periodontium เป็นหนึ่งในผู้ชี้ขาดว่าจะเก็บฟันในผู้ป่วยฉายรังสีได้หรือไม่ และให้คำปรึกษาแก่ oral surgeon เรื่อง new occlusion จากการทำ orthognathic surgery อีกด้วย 

    Pedodontist
                     เป็นที่ปรึกษากรณีปัญหาของผู้ป่วยพิเศษ เช่น cleft lip, cleft palate,craniofacial anomalies, medically compromised patient with congenital or acquired debilitating illnesss of childhood โดยร่วมกับกุมารแพทย์ในการประเมินการเจริญเติบโต และพัฒนาการของเด็กในเรื่อง stomatognathic system

    Prosthodontist 
                     มักเป็นที่ต้องการในโรงพยาบาลที่มีการรักษาด้าน oncology เพราะมีความสำคัญในการวางแผนการรักษา, การทำ special reconstructive and replacement therapy บางบริเวณ maxillofacial prosthodontist จะร่วมกับ oral medicine specialist ในการ follow up ผู้ป่วยมะเร็ง และประเมินผู้ป่วย cleft lip and palate ที่จะทำ surgery หรือ obtulators prosthodontist จะได้รับการ consult ในเรื่อง orthognathic surgery ไปจนถึงเรื่อง occlusion รวมถึงการทำ special fixation devices ด้วย 

    Oral medicine 
                      เป็นบุคคลที่พบกับผู้ป่วยเป็นคนแรก เป็นผู้รวบรวมประวัติและข้อมูล lab, ทบทวนประวัติทางการแพทย์,ประวัติทางทันตกรรมและ บันทึกของทางโรงพยาบาล , evaluate oral manifestration of systemic disease จากนั้นจะไป consult ทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาอื่นเมื่อจำเป็นเพื่อให้ได้ definitive care จึงเป็นทั้งผู้ประสานงานและเป็นผู้ให้การดูแลฉุกเฉินสำหรับ stomatitis, gingivitis, relief pain ในผู้ป่วยนอก 

    Oral pathologist 
                      เป็นผู้ประเมิน oral mucosa, jaw bone, odontogenic and malignant lesions of head and neck ดังนั้น oral pathologist จึงเป็นบุคคลสำคัญใน tumor boards ของโรงพยาบาล

    Orthodontist 
                      เป็นที่ปรึกษากรณี case เด็กที่มี malocclusion หรือมีความผิดปกติในการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่จะนำไปสู่การมี malocclusion เขายังทำงานกับกลุ่มคลินิกพิเศษอื่น เช่น cleft lip, cleft palate และพวก craniofacial anomalies ซึ่งต้องมีการ evaluate การเจริญพัฒนาการและ deformities ที่เกิดขึ้น 

    Endodontist 
                      ให้การปรึกษาเกี่ยวกับการเก็บฟัน endodontically questionable tooth ว่าสามารถเก็บได้หรือไม่ ซึ่งฟันซี่นั้นอาจเป็นฟันหลักสำหรับฟันปลอมติดแน่นหรือ RPD หรือในกรณีที่เป็นผู้ป่วยมะเร็งที่ต้องรับการฉายแสง 

    ย่อความจาก 
                       Henry MG and Louis HG. The role of the dental specialist in the hospital. Symposium on hospital dental practice. Dental Clinic of North America 1975;10;665-674 มักเป็นที่ต้องการในโรงพยาบาลที่มีการรักษาด้าน

    อยากเป็นทันตแพทย์ต้องสอบอะไรบ้าง

    การเข้าเรียนในหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต

    1. สอบตรง
         รับนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้น ม.6 ทางมหาวิทยาลัยมีการเปิดรับเอง สอบเข้าโดยข้อสอบของมหาวิทยาลัย เกณฑ์การรับจะแตกต่างกันแล้วแต่สถาบัน

    2. สอบตรง กสพท.
         รับนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้น ม.6 หรือผู้สำเร็จการศึกษาชั้น ม.6 สมัครผ่านกสพท. สำหรับปีการศึกษา 2553 ใช้คะแนนต่าง ๆ ดังนี้
    คะแนน O-NET 0% (คิดจาก 5 กลุ่มสาระวิชา คะแนนรวมเท่ากับหรือมากกว่า 60%)
    คะแนนวิชาสามัญ 70% (จัดสอบโดยกสพท. แต่ละวิชาต้องได้เท่ากับหรือมากกว่า 30%)
    คะแนนวิชาเฉพาะ 30% (จัดสอบโดยกสพท.)  
    ซึ่งสถาบันที่รับแบบนี้ คือ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.มหิดล คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ 

    3. แอดมิชชั่นกลาง
        รับนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้น ม.6 หรือผู้สำเร็จการศึกษาชั้น ม.6 ใช้คะแนน GPAX 20%, O-NET 30%, GAT 30%, PAT 2 20%

    10 อันดับคณะยอดฮิตของมหาวิทยาลัยต่างๆ

    10 คณะยอดฮิตของแต่ละมหาวิทยาลัย


    น้องๆที่กำลังจะยื่นคะแนน แต่ไม่แน่ใจว่า  คณะที่เลือกจะมีโอกาสสอบติดหรือไม่ มาดูกันครับว่าปีที่แล้ว  10 อันดับคณะยอดฮิตของมหาวิทยาลัยต่างๆ  ที่ถูกเลือกเป็นอันดับหนึ่งนั้น   จำนวนผู้สมัครมีมากน้อยแค่ไหน  เพราะหากคณะที่น้องๆจะเลือก ติดหนึ่งในคณะยอดฮิตของมหาวิทยาลัย จะได้เป็นข้อมูลเบื้องต้นได้ว่า คะแนนที่เรามีอยู่ในมือนั้น มีโอกาสที่จะแข่งขันกับคู่แข่งได้หรือไม่    .....  เรามาดูกันครับ^_^
    สามารถ Download เอกสารที่นี่ http://docs.google.com/Doc?docid=0ASwF92catXbWZGdxczNyZmtfODBoY3E0M3R3ag&hl=en
                                                          คณะหรือประเภทวิชา
    จำนวนผู้สมัตรอันดับหนึ่ง
    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    คณะวิศวกรรมศาสตร์   สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์
    908
    คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
    611
    คณะพาณิชยศาสตรและการบัญชี หลักสูตรบัญชีบัณฑิต
    579
    คณะครุศาสตร์(รูปแบบที่ 1)
    421
    คณะนิเทศศาสตร์  รปแบบที่  3
    371
    คณะนิเทศศาสตร์  รปแบบที่  1
               315
    คณะรัฐศาสตร สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
               294
    คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (รูปแบบที่ 2)
               202
    คณะนิติศาสตร์  สอบวิชาคณิตศาสตร์ 2
               175
    สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา รูปแบบที่ 1
               173
    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาบัญชี
    568
    คณะวิศวกรรมศาสตร กลุมวิทยาเขตบางเขน (สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี วิศวกรรมคอมพิวเตอร ฯลฯ)
                567
    คณะวนศาสตร สาขาวิชาวนศาสตร
     344
    คณะเศรษฐศาสตร  สาขาวิชาเศรษฐศาสตร (ภาคพิเศษ)
     343
    คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาบัญชี ภาคพิเศษ
    340
    คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ
                 326
    คณะสัตวแพทยศาสตร
      314
    คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการการผลิต
                 310
    คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการเงิน
                292
    คณะมนุษยศาสตร สาขาวิชาสื่อสารมวลชน (รูปแบบที่ 1)
    279
    มหาวิทยาลัยขอนแกน

    คณะเกษตรศาสตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
    339
    คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (การจัดการ)            
    280
    คณะวิศวกรรมศาสตร สาขาวิชาวิศวกรรมทั่วไป
    270
    คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาบริหารธุรกิจบัณฑิต   (การจัดการโรงแรมและการทองเที่ยว)           
    263
    คณะพยาบาลศาสตร  
    241
    คณะศึกษาศาสตร  สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา                             
    235
    คณะสาธารณสุขศาสตร   สาขาวิชาเอกคูวิทยาศาสตรอนามัยอาชีวอนามัยและ  ความปลอดภัย
     232
    คณะศึกษาศาสตร สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา                           
    229
    คณะนิติศาสตร  เลือกสอบวิชาวิทยาศาสตร 2                                                                               
    219
    คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาบริหารธุรกิจบัณฑิต (การเงิน)                       
    215
    มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    คณะพยาบาลศาสตร  
    622
    คณะบริหารธุรกิจ
    514
    คณะรัฐศาสตรและรัฐประศาสนศาสตร    สาขาวิชาการระหวางประเทศ เลือกสอบวิชาสังคมศึกษา 2
    387
    คณะมนุษยศาสตร  สาขาวิชาจิตวิทยา
    263
    คณะวิทยาศาสตร สาขาวิชาฟสิกส วัสดุศาสตร์
    256
    คณะบริหารธุรกิจ  ภาคพิเศษ
    249
    คณะศึกษาศาสตร  สาขาวิชาภาษาไทย        
    247
    คณะรัฐศาสตรและรัฐประศาสนศาสตร    สาขาวิชารัฐศาสตร เลือกสอบวิชาสังคมศึกษา 2 
    230
    คณะเภสัชศาสตร  สาขาวิชาเภสัชศาสตร (หลักสูตร 5  ป)             
    221
    คณะมนุษยศาสตร สาขาวิชาการทองเที่ยวและการโรงแรม
    197
    มหาวิทยาลัยทักษิณ
    คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา  สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
    102
    คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร สาขาวิชาภาษาไทย
    89
    คณะนิติศาสตร สาขาวิชานิติศาสตร  เลือกสอบวิชาคณิตศาสตร 2
    69
    คณะศึกษาศาสตร  สาขาวิชาการศึกษา : การศึกษาปฐมวัย
    60
    คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร  สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
    59
    คณะนิติศาสตร สาขาวิชานิติศาสตร  เลือกสอบวิชาวิทยาศาสตร 2
    59
    คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร  สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน
    57
    คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร   สาขาวิชาการปกครองทองถิ่น
    57
    คณะศึกษาศาสตร สาขาวิชาการศึกษา : ภาษาไทย
    42
    คณะศึกษาศาสตร สาขาวิชาการศึกษา : ภาษาอังกฤษ
    42
    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกลาธนบุรี
    คณะวิศวกรรมศาสตร สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟา  สาขาวิชาวิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัดฯ
              116
    คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ  สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ  (หลักสูตรภาษาไทย 4 ป)
              120
    คณะวิทยาศาสตร   สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอรประยุกต์
              110
    คณะวิทยาศาสตร สาขาวิชาสถิติประยุกต
              87
    คณะวิทยาศาสตร สาขาวิชาคณิตศาสตร
              83
    คณะวิศวกรรมศาสตร  สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา  สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดลอม
     77
    คณะวิศวกรรมศาสตร  สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
     67
    คณะวิศวกรรมศาสตร   สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟา (หลักสูตรสองภาษา) ฯลฯ
     65
    คณะวิศวกรรมศาสตร สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร
     56
    คณะวิศวกรรมศาสตร  สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องมือ
     56
    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกลาพระนครเหนือ
    คณะวิศวกรรมศาสตร  สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟา แขนงวิชาวิศวกรรมไฟฟาวิศวกรรมควบคุมวิศวกรรมสื่อสาร
    108
    คณะวิทยาศาสตรประยุกต  สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอรประยุกต์      
    106
    คณะวิศวกรรมศาสตร  สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
           76
    คณะวิทยาศาสตรประยุกต  สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม  
           66
    คณะวิศวกรรมศาสตร  สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล,   สาขาวิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ
           64
    คณะวิทยาศาสตรประยุกต  สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ 
           53
    คณะวิศวกรรมศาสตร  สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร 
           51
    คณะวิทยาศาสตรประยุกต  สาขาวิชาฟสิกสอุตสาหกรรมและอุปกรณการแพทย              
           44
    คณะวิทยาศาสตรประยุกต  สาขาวิชาวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีทางอาหาร   
           43
    คณะวิศวกรรมศาสตร  สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิต
           38
    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
    สํานักวิชาวิศวกรรมศาสตร สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิต   วิศวกรรมเกษตรและอาหาร  วิศวกรรมขนสง ฯลฯ
             267
    สํานักวิชาแพทยศาสตร ประเภทวิชาสาธารณสุขศาสตร    สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดลอม ฯลฯ
             128
    สํานักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร
               77
    สํานักวิชาเทคโนโลยีสังคม สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
               63
    สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ
               53
    สํานักวิชาวิทยาศาสตร  สาขาวิชาวิทยาศาสตรการกีฬา
               38
    สํานักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว
               31
    สํานักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช
               20
    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร
    คณะศิลปศาสตร  สาขาวิชาภาษาอังกฤษ  เลือกสอบภาษาอังกฤษ 2
    834
    คณะนิติศาสตร   สอบวิชาคณิตศาสตร 2
    347
    คณะสาธารณสุขศาสตร  สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร  (แขนงวิชาอนามัยชุมชน)
    307
    คณะวารสารศาสตรและสื่อสารมวลชน (รูปแบบที่ 1)
    388
    คณะเศรษฐศาสตร
    373
    คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
    301
    คณะนิติศาสตร   สอบวิชาวิทยาศาสตร 2
    266
    คณะวิศวกรรมศาสตร  สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟา  สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหกรรม ฯลฯ
    261
    คณะรัฐศาสตร  สาขาวิชาการเมืองการปกครอง    เลือกสอบวิชาสังคมศึกษา 2 (รูปแบบที่ 1)
    256
    คณะสาธารณสุขศาสตร
    194
    มหาวิทยาลัยนเรศวร
    คณะพยาบาลศาสตร  หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
    332
    มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา  สาขาวิชากายภาพบําบัด
    248
    คณะสังคมศาสตร  หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต
    225
    คณะเภสัชศาสตร   สาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรม
     206
    คณะทันตแพทยศาสตร หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต
     199
    คณะสังคมศาสตร หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต   สาขาวิชาประวัติศาสตรและหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต ฯลฯ
    196
    คณะสหเวชศาสตร  สาขาวิชารังสีเทคนิค
    177
    มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา  สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร
    166
    คณะสาธารณสุขศาสตร  หลักสูตรการแพทยแผนไทยประยุกตบัณฑิต
    142
    มหาวิทยาลัยบูรพา
    คณะพยาบาลศาสตร สาขาวิชาพยาบาลศาสตร
    1265
    คณะรัฐศาสตรและนิติศาสตร  สาขาวิชารัฐศาสตร์
    372
    คณะการจัดการและการทองเที่ยว กลุมวิชาบริหารธุรกิจ   (การตลาด การจัดการ ฯลฯ)
    345
    คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร  สาขาวิชาศาสนาและปรัชญา
    227
    คณะวิทยาศาสตร  สาขาวิชาชีวเคมี
    225
    คณะการจัดการและการทองเที่ยว สาขาวิชาการจัดการการโรงแรมและการทองเที่ยว ฯลฯ
    188
    คณะรัฐศาสตรและนิติศาสตร สาขาวิชานิติศาสตร
    170
    คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร    สาขาวิชานิเทศศาสตร  (รูปแบบที่ 1)
    151
    คณะวิศวกรรมศาสตร
    137
    คณะโลจิสติกส สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส (รูปแบบที่ 1)
    124
    มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

    คณะพยาบาลศาสตร  สาขาวิชาพยาบาลศาสตร
    322
    คณะสาธารณสุขศาสตร  สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร
    216
    คณะสาธารณสุขศาสตร  สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดลอมและอาชีวอนามัย
    176
    โครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตรและสัตวศาสตร   สาขาวิชาสัตวศาสตร
    167
    คณะวิศวกรรมศาสตร  สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์
    113
    คณะการทองเที่ยวและการโรงแรม สาขาวิชาการทองเที่ยวและการโรงแรม
    117
    วิทยาลัยการเมืองการปกครอง  สาขาวิชาการเมืองการปกครอง
    131
    วิทยาลัยการเมืองการปกครอง  สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ
    89
    คณะศึกษาศาสตร  สาขาวิชาสังคมศึกษา  (หลักสูตร  5  ป)
    84
    คณะเภสัชศาสตร    สาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรม  (หลักสูตร  6  ป)
    96
    มหาวิทยาลัยมหิดล
    คณะแพทยศาสตรโรงพยาบาลรามาธิบดี  สาขาวิชาพยาบาลศาสตร
    431
    คณะพยาบาลศาสตร  สาขาวิชาพยาบาลศาสตร
    425
    คณะเภสัชศาสตร  สาขาวิชาเภสัชศาสตร
    355
    วิทยาลัยการจัดการ  สาขาวิชาบัญชี
    240
    คณะวิทยาศาสตร (วิทยาเขตกาญจนบุรี)    สาขาวิชาวิทยาศาสตร (เทคโนโลยีการอาหาร)
    203
    คณะสาธารณสุขศาสตร สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร
    196
    คณะทันตแพทยศาสตร สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์
    178
    คณะกายภาพบําบัดและวิทยาศาสตรการเคลื่อนไหว  ประยุกต สาขาวิชากิจกรรมบําบัด
    170
    คณะวิทยาศาสตร  สาขาวิชาวิทยาศาสตร
    159
    วิทยาลัยการจัดการ  (วิทยาเขตกาญจนบุรี)    สาขาวิชาการจัดการ
    139

    มหาวิทยาลัยแมโจ
    คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ
    103
    วิทยาลัยบริหารศาสตร สาขาวิชารัฐศาสตร  
    102
    คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชี          
    72
    คณะสัตวศาสตรและเทคโนโลยี สาขาวิชาสัตวศาสตร์   
    68
    คณะพัฒนาการทองเที่ยว สาขาวิชาพัฒนาการทองเที่ยว 
    53
    คณะผลิตกรรมการเกษตร  สาขาวิชาพืชศาสตร (พืชสวน)             
    52
    คณะศิลปศาสตร  สาขาวิชานิเทศศาสตรบูรณาการ
    52
    คณะเศรษฐศาสตร สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์   
    45
    คณะวิทยาศาสตร สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร
    45
    คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (การจัดการทั่วไป)
    43
    มหาวิทยาลัยแมฟาหลวง
    สํานักวิชาพยาบาลศาสตร  สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
    364
    สำนักวิชาวิทยาศาสตรสุขภาพ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร
    278
    สํานักวิชานิติศาสตร สาขาวิชานิติศาสตร   สอบวิชาภาษาอังกฤษ
    102
    สํานักวิชาการจัดการ  สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
    74
    สํานักวิชาการจัดการ  สาขาวิชาการจัดการการทองเที่ยว
    64
    สํานักวิชาศิลปศาสตร  สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
    59
    สํานักวิชาการจัดการ  สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน แบบที่ 1
    54
    สํานักวิชาการจัดการ    สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการ
    49
    สํานักวิชาวิทยาศาสตรสุขภาพ  สาขาวิชากายภาพบําบัด
    47
    สํานักวิชาการจัดการ  สาขาวิชาการบัญชี
    41
    สํานักวิชาศิลปศาสตร  สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ  สอบวิชาภาษาจีน
    37
    มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    สํานักวิชาสหเวชศาสตรและสาธารณสุขศาสตร  สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดลอม
    104
    สํานักวิชาพยาบาลศาสตร สาขาวิชาพยาบาลศาสตร
    131
    สํานักวิชาสหเวชศาสตรและสาธารณสุขศาสตร  สาขาวิชาเทคนิคการแพทย
    91
    สํานักวิชาสหเวชศาสตรและสาธารณสุขศาสตร  สาขาวิชากายภาพบําบัด
    67
    สํานักวิชาเภสัชศาสตร  สาขาวิชาเภสัชศาสตร์
    63
    สํานักวิชาสารสนเทศศาสตร  สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชั่น
    18
    สํานักวิชาสารสนเทศศาสตร  สาขาวิชานิเทศศาสตร (รูปแบบที่ 1)
    15
    สํานักวิชาการจัดการ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
    14
    สํานักวิชาการจัดการ  สาขาวิชาบริหารธุรกิจ  (การจัดการการทองเที่ยวและการบริการ)
    11
    สํานักวิชาการจัดการ  สาขาวิชาเศรษฐศาสตร
    11




    มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
    คณะสังคมศาสตร  สาขาวิชาประวัติศาสตร7
    461
    คณะสังคมศาสตร  สาขาวิชารัฐศาสตร (การปกครอง)  เลือกสอบวิชาสังคมศึกษา 2  (รูปแบบที่1)
    340
    คณะสังคมศาสตร  สาขาวิชาการจัดการการทองเที่ยวและการโรงแรม
    201
    คณะสังคมศาสตร  สาขาวิชาเศรษฐศาสตร
    201
    คณะมนุษยศาสตร  สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (กศ.บ. ป)
    173
    คณะมนุษยศาสตร สาขาวิชาจิตวิทยา
    135
    คณะสังคมศาสตร  สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร
    134
    คณะสังคมศาสตร  สาขาวิชารัฐศาสตร (รัฐประศาสนศาสตร)
    120
    คณะสังคมศาสตร  สาขาวิชาการพัฒนาชุมชนเมือง
    101
    คณะสังคมศาสตร  สาขาวิชาการบัญชี
    99
    มหาวิทยาลัยศิลปากร
    คณะโบราณคดี สาขาวิชามานุษยวิทยา
    432
    คณะวิทยาการจัดการ  สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป
    412
    คณะวิทยาศาสตร
    409
    คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  สาขาวิชานิเทศศาสตร รูปแบบที่ 1
    392
    คณะอักษรศาสตร  เลือกสอบวิชาภาษาไทย 2
    325
    คณะวิทยาการจัดการ  สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร  เลือกสอบวิชาสังคมศึกษา 2
    298
    คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการออกแบบ ฯลฯ
    278
    คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ
    257
    คณะวิทยาการจัดการ  สาขาวิชาธุรกิจโรงแรมและที่พัก
    225
    คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  สาขาวิชานิเทศศาสตร รูปแบบที่ 3
    214
    มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร
    คณะพยาบาลศาสตร หาดใหญ
    688
    คณะวิทยาศาสตร หาดใหญ สาขาวิทยาศาสตรกายภาพ
    245
    คณะวิทยาการจัดการ หาดใหญ สาขาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
    205
    คณะวิทยาการจัดการ หาดใหญ  สาขาบริหารธุรกิจ    เอกการบริหารทรัพยากรมนุษย
    198
    คณะวิศวกรรมศาสตร หาดใหญ สาขาวิศวกรรมศาสตร์
    197
    คณะเภสัชศาสตร หาดใหญ  สาขาเภสัชศาสตร (หลักสูตร 5 ป)
    194
    คณะวิทยาการจัดการ หาดใหญ สาขารัฐประศาสนศาสตร  เลือกสอบวิชาสังคมศึกษา 2 (รูปแบบที่ 2)
    192
    คณะวิทยาการจัดการ หาดใหญ บัญชีบัณฑิต
    181
    คณะวิทยาการจัดการ หาดใหญ สาขาบริหารธุรกิจ เอกการตลาด
    165
    คณะวิทยาการจัดการ หาดใหญ สาขาบริหารธุรกิจ เอกการเงิน
    163
    มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

    คณะเภสัชศาสตร (6 ป)
    390
    วิทยาลัยแพทยศาสตรและการสาธารณสุข   สาขาสาธารณสุข
    364
    คณะนิติศาสตร  สาขานิติศาสตร  เลือกสอบวิชาวิทยาศาสตร 2
    142
    คณะวิศวกรรมศาสตร
    133
    คณะนิติศาสตร  สาขานิติศาสตร  เลือกสอบวิชาคณิตศาสตร 2
    115
    คณะรัฐศาสตร  สาขาการปกครอง   เลือกสอบวิชาสังคมศึกษา 2  (รูปแบบที่ 1)
    111
    คณะบริหารศาสตร สาขาบัญชี
    87
    คณะบริหารศาสตร สาขาการจัดการทั่วไป
    69
    คณะเกษตรศาสตร  สาขาพืชไร พืชสวน และสัตวศาสตร
    69
    คณะรัฐศาสตร  รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต   สาขาการปกครองทองถิ่น  เลือกสอบวิชาสังคมศึกษา 2
    61
    สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกลาเจาคุณทหารลาดกระบัง
    คณะวิศวกรรมศาสตรกลุมวิศวกรรมไฟฟา (วิศวกรรมโทรคมนาคมวิศวกรรมไฟฟา,อิเล็กทรอนิกส)
    284
    คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ  สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
    154
    คณะวิทยาศาสตร สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
    140
    คณะสถาปตยกรรมศาสตร สาขาวิชานิเทศศิลป
    131
    คณะวิศวกรรมศาสตร  สาขาวิชาวิศวกรรมการวัดคุม
    124
    คณะวิศวกรรมศาสตร  สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร
    111
    คณะสถาปตยกรรมศาสตร สาขาวิชาการถายภาพ
    109
    คณะเทคโนโลยีการเกษตร   สาขาวิชาพืชไร
    106
    คณะวิศวกรรมศาสตร  สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
    95
    คณะเทคโนโลยีการเกษตร  สาขาวิชาสัตวศาสตร
    89